อักษรวิ่ง

ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทยจึงเป็นภาษาที่ควรอนุรักษ์ไว้ Thai as the national language of Thailand that we should be preserved.

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โคลงสี่สุภาพ


ลักษณะคำประพันธ์
          ๑. บท บทหนึ่งมี ๔ บาท (หนึ่งบรรทัดคือหนึ่งบาท) แต่ละบาทแยกเป็น ๒ วรรค เรียก วรรคหน้ากับวรรคหลัง แบ่งเป็นวรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๒ คำ เฉพาะบาทที่ ๔ หรือบาท
สุดท้ายกำหนดให้วรรคหลังมี ๔ คำ
         
๒. คำสร้อย เฉพาะบาท ๑ กับบาท ๓ อนุญาตให้มีคำเพิ่มต่อท้ายวรรคหลังได้ อีกบาทละ ๒ คำ เรียก คำสร้อย หรือสร้อยคำ นิยมให้ลงท้ายด้วยคำดังนี้ เฮย แฮ ฮา รา ฤา นา นอ พ่อ แม่ พี่ เอย ฯลฯ
         
๓. เอก – โท คือ คำกำหนดบังคับเสียง อันเป็นลักษณะพิเศษของโคลง
               - คำเอก คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรคยุกต์เอก เช่น แก่ ค่า ใส เฉพาะคำเอกนี้ในโคลง อนุญาตให้ใช้คำตายแทนได้ คำตาย คือ คำที่สะกดในแม่ กก กด กบ เช่น ปิด ฉาก นัด พบ
สวัสดิ์ ศิริ


               - คำโท คือ คำที่กำกับด้วยรูปวรรณยุกต์โท เช่น ร้อง ไห้ ไม้ ล้ม ต้ม ข้าว
          โคลงสี่สุภาพ กำหนดบังคับให้แต่ละบทต้องใช้คำเอก-โท (ดูแผนผัง)  กรณีที่ไม่สามารถหาพยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์ตามต้องการได้ให้ใช้  เอกโทษ และโทโทษ เอกโทษ และโทโทษ คืออะไร?
               - คำเอกคำโท หมายถึงพยางค์ที่บังคับด้วยรูปวรรณยุกต์เอก และรูปวรรณยุต์โท กำกับ อยู่ในคำนั้น โดยมีลักษณะบังคับไว้ดังนี้
               - คำเอก ได้แก่ พยางค์ที่มีรูปวรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ล่า เก่า ก่อน น่า ว่าย ไม่ ฯลฯ  และให้รวมถึงคำตายทั้งหมดไม่ว่าจะมีเสียงวรรณยุกต์ใดก็ตาม เช่น ปะ พบ รึ ขัด ชิด
(ในโคลงและร่ายใช้ คำตาย แทนคำเอกได้)

          คำตาย คือ
               - คำที่ประสมสระเสียงสั้นแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่นกะ ทิ สิ นะ ขรุ ขระ เละ เปรี๊ยะ เลอะ โปีะ ฯลฯ
               - คำที่สะกดด้วยแม่ กก กบ กด เช่น เลข วัด สารท โจทย์ วิทย์ ศิษย์ มาก โชค ลาภ ฯลฯ
         
๔. สัมผัส
               ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างบท อันเป็นสัมผัสบังคับ คำสุดท้ายของบาทหนึ่ง  คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับสัมผัสกับคำที่ ๕ ของบาทสองกับบาทสาม (ดูแผนผัง) คำสุดท้ายของบาทสอง คือ คำที่ ๗ ส่งสัมผัสไปรับกับคำที่ ๕ ของบาทสี่ (ซึ่งตกในที่บังคับคำโทจึงต้องส่ง-รับด้วยคำโททั้งคู่)
               ข. สัมผัสระหว่างบท โคลงสี่สุภาพไม่เคร่งสัมผัสระหว่างบท จะมีหรือไม่มีก็ได้ หากจะมีกำหนดให้คำสุดท้ายของบทคือคำที่ ๗ ของบาทสี่ ส่ง-รับสัมผัสไปยังคำที่ ๑ หรือ ๒   หรือ ๓ ของบาทหนึ่งในบทถัดไป

ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพ
                              เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย          เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
                              สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่              สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ

          ข้อสังเกต
         โคลงทุกประเภทไม่เคร่งสัมผัสในจะมีหรือไม่มีก็ได้ หากจะมีสัมผัสใน กำหนดให้คำที่ ๒
กับคำที่ ๓ หรือที่ ๔ ของทุกวรรคสัมผัสกันได้ ดังตัวอย่าง  “กำหนดบทบาทไป”   และระหว่างวรรคแรกกับวรรคหลัง หากเล่นสัมผัสอักษรจะทำให้โคลงไพเราะขึ้น ดังตัวอย่าง    “กำหนดบทบาทไป เป็นแบบ ฉะนี้นา”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น